top of page
CT6.jpeg

วิธีดูแล "ห้องครัว" ให้สะอาด ปรุงอาหารให้ปลอดภัย ห่างไกลจากเชื้อโรค

By A-Sei Hygiene For Everywhere

อาหารที่ดีมีประโยชน์นั้น แค่มีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการยังไม่พอ แต่ต้องผ่านกรรมวิธีที่ถูกสุขอนามัยด้วย ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรดูแลรักษาความสะอาดห้องครัวให้ดี เก็บรักษาวัตถุดิบให้ถูกต้อง และปรุงอาหารให้ถูกวิธี อาหารที่คุณกินเข้าไปจะได้ไม่ปนเปื้อนจุลินทรีย์ อย่างเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน หรือการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสบางชนิด ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยด้วย

ฉะนั้น หากใครไม่อยากโดนเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในอาหารเล่นงาน ขอแนะนำให้คุณเริ่มดูแลสุขอนามัย ด้วย วิธีดูแลห้องครัวให้สะอาด ปรุงอาหารให้ปลอดภัย ที่เรานำมาฝากในบทความนี้


วิธีดูแลห้องครัวให้สะอาด ปราศจากเชื้อโรค

1. ฟองน้ำล้างจานและผ้าเช็ดจานที่เปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี ฉะนั้น วิธีดูแลห้องครัวให้สะอาดอย่างแรกก็คือ เลือกใช้แปรงล้างจานแบบพลาสติกแทนฟองน้ำ เพราะสามารถลดการสะสมของแบคทีเรียได้ดีกว่า แต่หากคุณใช้ฟองน้ำหรือผ้า หลังจากใช้งานเสร็จแล้วควรล้างฟองออกให้สะอาด และควรนำไปต้มในน้ำเดือดจัด แล้วพึ่งให้แห้งอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง


2. ทำความสะอาดบริเวณเคาน์เตอร์ทำครัว และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยน้ำยาล้างจานผสมน้ำอุ่น ทั้งก่อนและหลังทำอาหารทุกครั้ง หากอยากให้สะอาดหมดจด ก็สามารถวยการใช้ผลิตภัณฑ์เอ-เซย์ มัลติ-ยูส ดิสอินเฟคแทนท์ (ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้ออเนกประสงค์) ผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 1:40 เช็ดทำความสะอาดทุกพื้นผิว เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

3. อ่างล้างจาน ที่กรองเศษอาหาร และท่ออ่างล้างจานถือเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอีกหนึ่งจุดที่เรามักละเลย ฉะนั้น หากคุณไม่อยากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ คุณก็ควรทำความสะอาดอ่างล้างจานและอุปกรณ์ต่างๆ ของอ่างให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์เอ-เซย์ มัลติ-ยูส ดิสอินเฟคแทนท์ (ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้ออเนกประสงค์) ผสมกับน้ำ ในอัตราส่วน 1:40 เช็ดทำความสะอาดอ่างล้างจาน และแช่ตะแกรงกรองเศษอาหาร


4. เขียงก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องครัวที่คุณต้องใส่ใจ คุณไม่ควรใช้เขียงอันเดียวกับวัตถุดิบทุกประเภท แต่ควรแยกเขียงให้ชัดเจน เช่น อาจซื้อเขียงมาสามอัน อันแรกใช้หั่นผักผลไม้ อันที่สองใช้หั่นปลา อันที่สามใช้หั่นเนื้อแดงและสัตว์ปีก และอย่าลืมใช้เขียงคนละสีด้วย จะได้ไม่สับสน หรือหยิบใช้ผิด


5. หลังจากเลือกซื้อวัตถุดิบในการประกอบอาหารมาแล้ว คุณต้องดูคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ก่อนว่า วัตถุดิบนั้นๆ ต้องเก็บรักษาอย่างไร และมีวันหมดอายุระบุไว้หรือไม่ และหากเป็นอาหารสดหรืออาหารที่ระบุให้แช่เย็น คุณควรเก็บรักษาในตู้เย็นด้วยวิธีเหล่านี้

  •  เก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม (ระหว่าง 0°C- 5°C) หากของในตู้เย็นเยอะมาก ควรปรับอุณหภูมิให้เย็นขึ้นอีก เพื่อสู้กับเชื้อโรค

  •  อย่าเปิดตู้เย็นบ่อยๆ และต้องปิดประตูตู้เย็นให้สนิททุกครั้ง

  •  เนื้อสัตว์สดต้องเก็บในบรรจุภัณฑ์มิดชิด ป้องกันน้ำจากเนื้อไหลไปปนเปื้อนของอย่างอื่นในตู้

  •  หากเป็นอาหารปรุงสุกหรือเพิ่งผ่านความร้อน ควรรอให้เย็นก่อนจึงค่อยเก็บในตู้เย็น

  •  แยกอาหารที่ปรุงสุกแล้ว กับของสดให้ชัดเจน อย่าให้ปนเปื้อน หรือสัมผัสกันได้

  •  หากหยิบของสดออกมาจากตู้เย็น ต้องรีบเอากลับไปแช่ตู้ให้เร็วที่สุด


6. อุณหภูมิในการปรุงอาหาร เป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้ โดยทั่วไปแล้ว อาหารส่วนใหญ่ควรปรุงสุกด้วยอุณหภูมิอย่างน้อย 75°C และควรกินทันทีหลังปรุงสุก แต่หากยังไม่กินหรือกินเหลือ คุณต้องเก็บอาหารในภาชนะที่ปิดมิดชิด จากนั้นจึงนำไปแช่ในตู้เย็นหรือตู้แช่ โดยห้ามให้สัมผัสกับวัตถุดิบสด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนแบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์อื่นๆ จนทำให้เกิดภาวะอาหารเป็นพิษ หรือร้ายแรงกว่านั้นได้ และหากคณจะนำอาหารที่เก็บไว้มากิน ก็ควรอุ่นก่อนโดยใช้ความร้อนอย่างน้อย 60°C หากใครไม่แน่ใจว่าความร้อนที่ใช้เพียงพอหรือไม่ แนะนำให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอาหาร จะได้รู้อุณหภูมิที่คุณใช้นั้น สูงพอจะฆ่าเชื้อโรคได้หรือไม่

หากคุณจะประกอบอาหารโดยใช้เตาไมโครเวฟก็อาจจะต้องตั้งเวลาและระดับความร้อนให้สูงไว้ หรืออบหลายๆ ครั้งหน่อย และทางที่ดี ก็ควรใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอาหารช่วยเช่นกัน เพราะเตาไมโครเวฟนั้นไม่สามารถตั้งอุณหภูมิได้เหมือนเตาอบ การคาดเดาเอาเองอาจทำให้อาหารไม่สุก หรือได้รับความร้อนไม่มากพอได้ และหากคุณอยากให้อาหารสุกทั่วถึง วิธีเหล่านี้อาจช่วยคุณได้

  •  หั่นส่วนประกอบแต่ละอย่างให้เป็นชิ้นเท่าๆ กัน หรือหากมีชิ้นไหนหนา หรือใหญ่กว่า ควรเอาไว้บริเวณขอบจาน

  •  ใช้ฝาครอบอาหารทุกครั้งที่ปรุง หรืออุ่นอาหารในไมโครเวฟ จะได้กักเก็บไอน้ำได้ดีขึ้น และช่วยให้อาหารสุกทั่วถึงขึ้น

  •  นำอาหารออกมาคน หรือกลับด้าน แล้วจึงค่อยนำเข้าไมโครเวฟอีกครั้ง

  •  รอให้ครบกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ก่อน จึงค่อยนำอาหารออกมาเช็กดูว่าสุกดีทั่วกันหรือไม่

  •  หากเป็นเนื้อสัตว์จะต้องไม่มีเลือด เนื้อควรร่อนออกจากกระดูก เนื้อปลาก็ควรแกะออกจากก้างได้ง่าย

ข้อแนะนำที่สำคัญคือ คือ ควรหมั่นทำความสะอาด ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีสารฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ ได้รับรองจาก WHO เช่น ผลิตภัณฑ์ เอ-เซย์ มัลติยูส ดิสอินเฟคแทนท์ ที่มีสารฆ่าเชื้อคลอโรไซลีนอล ซึ่งเป็นสารที่ได้รับการรับรองจาก WHO ว่าสามารถจัดการเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลิตภัณฑ์มีผลการรับรองจากมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าสามารถจัดการกับเชื้อโรคได้ 99.99%

"ยกระดับสุขอนามัยไปกับเรา A-Sei : Hygiene For Everywhere"

อ้างอิง : https://www.sanook.com/health/21289/

บทความที่เกี่ยวข้อง

kq.gif
bottom of page