top of page
CT26.png

อาหารเป็นพิษ อันตรายกว่าที่คุณคิด มารู้จักเชื้อแบคทีเรีย ซาลโมเนลลา

By A-Sei Hygiene For Everywhere

แหล่งที่มาของเชื้อ ซาลโมเนลลา

เชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลลา สามารถติดต่อจากสัตว์ มาสู่คนและสัตว์อื่น ๆ เช่น หนู สัตว์ปีก แมลง วัว ควาย สุนัข แมว และม้า เป็นต้น สําหรับการติดเชื้อในคนนั้นส่วนมากจะได้รับเชื้อปะปนมากับน้ำา และอาหาร และบางครั้งอาจเกิดจากสัตว์เลี้ยงที่อาศัยตามอาคารบ้านเรือน ซึ่งเป็นพาหะของเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้เกิดอาการ ท้องร่วง

 

อันตรายของเชื้อ ซาลโมเนลลา 

ซาลโมเนลลา เป็นแบคทีเรียที่ทําให้ อาหารเป็นพิษที่เรียกว่า salmonellosis อาการจะเกิดขึ้นหลังจากบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนแล้ว ประมาณ 6 - 48 ชั่วโมง และจะมีอาการอยู่ใน ระหว่าง 1-5 วัน ร่างกายผู้ปวยจะเริ่มแสดงอาการในรายที่ไม่มีโรคอื่นแทรกซ้อนจะมีชีพจรเต้นช้า กว่าปกติ ผู้ปวยที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้มักจะเสียชีวิต เนื่องจากเลือดออกในลําไส้เล็ก และลําไส้ทะลุ สําหรับอาการทั่วไปของผู้ที่ได้รับเชื้อ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดศรีษะ ปวดท้อง มี ไข้ หนาวสั่น และอ่อนเพลีย โดยความรุนแรงของ อาการที่เกิดขึ้นนั้น จะแตกต่างไปตามปริมาณเชื้อ ที่บริโภค ชนิดของเชื้อที่บริโภค และความต้านทานของผู้บริโภค เชื้อ ซาลโมเนลลา มีหลายชนิดแต่ละชนิด มีลักษณะทางนิเวศวิทยาที่แตกต่างกันไป จึงทํา ให้การติดเชื้อและอาการของโรคแตกต่างกันตาม ไปด้วย สําหรับโรคที่เกิดจากเชื้อ ซาลโมเนลลา ที่สําคัญได้แก่ โรคกระเพาะอาหารและลําไส้อักเสบ (Gastroenteritis) โรคโลหิตเป็นพิษ (Septicemia) และไข้ไทฟอยด์ (Typhoid fever) 

 

โรคกระเพาะอาหาร และลําไส้อักเสบ : โรคชนิดนี้ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ Salmonella Typhimurium เชื้อมีระยะฟักตัว  4-48 ชั่วโมง อาการในระยะแรกจะคลื่นไส้อาเจียน เจ็บปวด บริเวณท้อง หรือท้องร่วง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิของ ร่างกายสูงถึง 38-39 องศาเซลเซียส และจะพบเม็ดเลือดขาวปะปนมากับอุจจาระด้วย อาการ ผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 5 วัน ไม่ว่าจะได้รับการรักษาหรือไม่ก็ตาม 

โรคโลหิตเป็นพิษ : โรคชนิดนี้เป็นผลมา จากมีเชื้อ  Salmonella Cholerasuis อยู่ในร่างกายเป็น เวลานาน เชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถแพร่กระจายไปเจริญตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ทําให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ตับ ม้าม หัวใจ ปอด และเยื่อหุ้มประสาท เป็นต้น สําหรับอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ การครั่นเนื้อครั่นตัว หรือหนาวสั่น เบื่ออาหาร และน้าหนักตัวลดลง

 

ไข้ไทฟอยด์ : มีสาเหตุมาจากเชื้อ S. typhi และ S. paratyphi ชนิด (type) A, B, C โดยอาจ ได้รับเชื้อโดยตรงจากผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ หรืออาจได้รับเชื้อทางอ้อม โดยปนเปื้อนอยู่ในอาหารหรือน้า เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วเชื้อมีระยะฟักตัว 3-35 วัน แต่โดยทั่วไปประมาณ 7-14 วัน สําหรับอาการที่ปรากฏ ได้แก่ อาการหนาว สั่น อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ ปวดหลัง ท้องร่วง และมีอุจจาระเหม็นมาก ในบางรายอาจเกิดหลอดลมอักเสบได้ อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น 39-40 องศาเซลเซียส จะมีอาการเช่นนี้นาน 1-2 สัปดาห์ และอาการไข้จะค่อย ๆ ลดลง จนกระทั่ง ถึงสัปดาห์ที่ 4 จะไม่มีอาการไข้เลย

การควบคุมและป้องกัน

 

ผู้ติดเชื้อ Salmonella ส่วนใหญ่พบว่าการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อจากการปนเปื้อน ผู้บริโภคจึงไม่ควรกินอาหาร ดิบหรือไข่  เนื้อไก่หรือเนื้อ ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก  การปนเปื้อนจากอาหารเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง อาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุงให้สุกต้องเก็บไว้แยกต่างหากจากอาหารที่ปรุงสุกแล้ว และแยกออกจากอาหารที่พร้อมบริโภค มือ เขียง โต้ะ มีด และอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหารควรล้างหลังจากใช้ร่วมกับ อาหารที่ยังไม่ผ่านการปรุง ล้างมือทุกครั้งก่อนประกอบอาหาร และระหว่างสัมผัสอาหาร ต่างชนิดกัน

ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเอนกประสงค์ เอ-เซย์  ได้ผ่านมาตรฐานการทดสอบและได้การรับรองการฆ่าเชื้อ Salmonella choleraesuis จากสถาบันการทดสอบมหาวิทยาลัยมหิดล

"ยกระดับสุขอนามัยไปกับเรา A-Sei Hygiene For Everywhere"

Reference :

      อ้างอิง : สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง

kq.gif
bottom of page