เสี่ยงหรือไม่ กับเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา
By A-Sei Hygiene For Everywhere
Pseudomonas aeruginosa สามารถติดเชื้อได้หลายระบบในร่างกายเนื่องจากมีหลายปัจจัยในการก่อให้เกิด เช่น ความสามารถในการเกาะยึดติดกับเยื่อบุผิว ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ สร้างโปรตีนที่มาทำลายเนื้อเยื่อ และมี protective outer coat
อาการผู้ที่ติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา
อาการของผู้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เชื้อเข้าไปเติบโต โดยเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซาสามารถเข้าไปก่ออาการได้แทบทุกระบบ และทุกบริเวณของร่างกาย โดยอาการหลักๆ ของร่างกายแต่ละส่วนที่เกิดการติดเชื้อจะมีต่อไปนี้
-
ติดเชื้อในระบบไหลเวียนเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น อ่อนเพลียอย่างหนัก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ รวมถึงอาการความดันโลหิตต่ำลงด้วย
-
ติดเชื้อที่ระบบย่อยอาหาร มีอาการปวดศีรษะ ท้องเสีย ท้องร่วง
-
ติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ มีอาการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ
-
ติดเชื้อในปอด ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับโรคปอดบวม เช่น มีไข้สูง หนาวสั่น ไอเรื้อรัง หายใจลำบาก
-
ติดเชื้อใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการต่อมขนอักเสบ (Folliculitis) เช่น มีอาการผิวแดง เป็นผื่นแดงขึ้นตามตัว เป็นฝี
-
ติดเชื้อที่กล้ามเนื้อ และกระดูก มีอาการกล้ามเนื้อบวม ปวดเจ็บบริเวณคอ และหลัง
-
ติดเชื้อที่ตา มีอาการตาอักเสบ หนังตาบวม เจ็บตา ตาขาวแดง การมองเห็นไม่มีประสิทธิภาพ
-
การติดเชื้อที่หู มีอาการหูบวม เจ็บหู รู้สึกคันระคายเคืองภายในหู การได้ยินไม่มีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตามโรคติดเชื้อจาก Pseudomonas aeruginosa ก็มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง โดยเฉพาะจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อที่ปอด อัตราการเสียชีวิตมีช่วงที่กว้าง โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หูจะมีอัตราการเสียชีวิต 15 – 20 % จนถึงผู้ป่วยที่ติดเชื้อที่หัวใจห้องซ้ายซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 89 %
วิธีป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซูโดโมแนส แอรูจิโนซา
หัวใจหลักที่สามารถป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ คือ การรักษาความสะอาดอุปกรณ์ ข้าวของเครื่องใช้รอบตัวให้ปราศจากความชื้น และคราบสิ่งสกปรก
ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อเอนกประสงค์ เอ-เซย์ ได้ผ่านมาตรฐานการทดสอบการฆ่าเชื้อ ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา จากสถาบันการทดสอบมหาวิทยาลัยมหิดล
"ยกระดับสุขอนามัยไปกับเรา A-Sei Hygiene For Everywhere"
Reference :
บทความที่เกี่ยวข้อง