top of page
CT14.jpeg

ใช้บริการขนส่งสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค

By A-Sei Hygiene For Everywhere

จากข้อจำกัดการเดินทางจากภาครัฐ ในหน่วยงานขนส่งสาธารณะหลายแห่งทั่วประเทศกำลังดำเนินการลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ส่งผลให้การเดินทางทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก

 

Avisheh Forouzesh แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อในรัฐนิวเจอร์ซีย์กล่าวว่า “ระวัง แต่ไม่กังวล” โดยแนะนำผู้ที่มีความจำเป็นต้องโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ แท็กซี่ เครื่องบิน ให้ปฎิบัติดังนี้

 

  • หากไม่สามารถล้างมือด้วยน้ำหรือสบู่ได้ทันที ควรพกแอลกอฮอล์ หรือเจลแอลกอฮอล์ และควรใช้บ่อยครั้งเมื่อสัมผัสอุปกรณ์ในที่ส่วนรวม เพราะเชื้อไวรัสโคโรน่า สามารถอาศัยอยู่บนพื้นผิวพลาสติกและเหล็กได้นานถึง 72 ชั่วโมง การพกเจลทำความสะอาดมือเป็นสิ่งหนึ่งที่ง่ายและทุกคนสามารถทำได้เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส

  • ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐ CDC แนะนำให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยเฉพาะ ดวงตา จมูก และ ปาก หรือสัมผัสใบหน้าไม่ว่าจะกำลังโดยสารรถสาธารณะอยู่หรือไม่ก็ตาม

  • ในขณะที่อยู่บนรถบัสหรือรถไฟที่มีผู้คนพลุกพล่านและไม่สามารถย้ายไปบริเวณอื่นได้ หากมีใครกำลังไอหรือจามให้พยายามออกห่างและรีบหันหน้าไปทางอื่นทันที

  • ลดการจับเสาและราวตามรถขนส่งสาธารณะ หากไม่สามารถทำได้ ควรใช้เจล หรือ สเปรย์แอลกอฮอล์ล้างทำความสะอาดมือทันทีหลังจากออกจากระบบขนส่งสาธารณะ และควรจำไว้ว่าอย่าสัมผัส จมูก ตา และปาก หากใช้กระดาษทิชชูจับราวก็ควรทิ้งลงในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด

  • ไม่รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ ในขณะที่ใช้บริการขนส่งสาธารณะ เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะสัมผัสถูกใบหน้าของตนเอง

  • ในขณะที่ใช้บริการรถขนส่งสาธารณะควรสัมผัสโทรศัพท์มือถือให้น้อยที่สุด แม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ยาก แต่ก็ควรที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเตือนตัวเอง โดยลดการสัมผัสโทรศัพท์มือถือ เช่น เปลี่ยนที่พกโทรศัพท์ ตอนแรกอาจพกโทรศัพท์มือถือไว้ในกระเป๋ากางเกงเป็นประจำ ให้เปลี่ยนมาใส่ไว้ในกระเป๋าแทน และควรใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด โดยหยดลงบนผ้าสะอาดหรือสำลีเช็ดเฉพาะด้านนอกตัวเครื่อง

  • หากต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เมื่ออยู่ในบริเวณสนามบินและบนเครื่องบิน ให้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) อย่างเคร่งครัด โดยทางสายการบินจะกำหนดสัญลักษณ์ไว้ให้สำหรับผู้เดินทาง เช่น พื้นที่เช็คอิน สะพานเทียบอากาศยาน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มบนเครื่องบิน รวมถึงกรอกแบบสำรวจการเดินทาง หรือแบบฟอร์มของสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเก็บข้อมูลการเดินทาง

  • การโดยสารรถไฟ รถไฟฟ้า ให้พยายามหลีกเลี่ยงช่วงเวลาแออัด หรือควรเลือกเส้นทางที่มีประชาชนไม่หนาแน่นมาก โดยควรเว้นระยะห่าง 2 เมตรเมื่อทำได้ และรอให้ผู้โดยสารภายในขบวนออกจนหมดก่อนที่จะขึ้นไป

  • กรณีโดยสารรถแท็กซี่ควรนั่งตอนหลังของรถเท่านั้น เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างผู้ขับรถและผู้โดยสาร ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงการติดต่อของเชื้อไวรัส และควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาขณะโดยสารบนรถ

  • การโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง ต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง งดพูดคุยโทรศัพท์ระหว่างโดยสาร ควรนั่งข้างแทนการนั่งคร่อมเบาะโดยสาร ทั้งพยายามพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือติดตัวตลอดเวลา และหมั่นล้างมือบ่อยๆ

  • เมื่อพบอ่างล้างมือและสบู่ พยายามล้างมือให้สะอาดทันที โดย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาทีหลังจากออกจากระบบขนส่งสาธารณะ และควรใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อป้องกันไม่ให้มือแห้งจากการล้างมือบ่อย ๆ

  • ในระหว่างการเดินทางไม่ว่าจะเป็นบน รถไฟฟ้า รถเมล์ หรือรถไฟใต้ดิน หากกำลังถือกระเป๋า หรือ ด้านล่างของกระเป๋าอยู่บนพื้นตลอดเวลา ให้ทำความสะอาดโดยใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ

  • หลังกลับถึงบ้านควรอาบน้ำ สระผม ชำระล้างร่างกายและเปลี่ยนเสื้อผ้า เพราะเสื้อผ้าภายนอกอาจจะมีโอกาสบนเปื้อนเชื้อโรคอยู่ด้วย

"ยกระดับสุขอนามัยไปกับเรา A-Sei : Hygiene For Everywhere"

อ้างอิง : https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/การเดินทางขนส่งสาธารณะ-โควิด-19

บทความที่เกี่ยวข้อง

kq.gif
Alc-4-01.png
bottom of page